วัดพระเเก้ว กรุงเทพฯ

ถ้ามากรุงเทพฯ สิ่งที่พลาดไม่ได้ต้องมาไหว้พระแก้วมรกตสักครั้งที่ วัดพระเเก้ว กรุงเทพฯ หรือวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อความเป็นสิริมงคล เพราะ วัดพระแก้ว เรียกได้ว่าเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของเมืองไทย แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ อีกทั้งยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศเราอีกด้วย วันนี้มาชมความสวยงามของ วัดพระแก้ว วัดคู่บ้านคู่เมืองของไทย

วัดพระแก้ว หรือ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นพระอารามหลวงที่มีความสำคัญในพระราชพิธีต่างๆ สร้างขึ้นพร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อปี พ.ศ. 2325 ในสมัยรัชกาลที่ 1 เป็นวัดในพระบรมมหาราชวังเช่นกัน วัดพระศรีสรรเพชญ์ซึ่งเป็นวัดในพระราชวังสมัยอยุธยา

นอกจากนี้ภายในวัดยังประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรหรือพระแก้วมรกตที่อัญเชิญมาจากอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์หรือประเทศลาวในอดีตอีกด้วย

ประวัติวัดพระเเก้ว กรุงเทพฯ

วัดพระเเก้ว กรุงเทพฯ สร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างพระบรมมหาราชวัง และสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานี ในรัชกาลที่ 1 ในปี พ.ศ. 2325 สร้างขึ้นตามประเพณีการสร้างวัดหลวงในเขตพระราชวังที่มีมาแต่อดีต คือ วัดมหาธาตุในสมัยสุโขทัย และพระวิหาร พระศรีสรรเพชญ์ในพระราชวังสมัยอยุธยาจะไม่มีวัดในเขตสังฆาวาส เริ่มแรกภายในวัดมีพระเจดีย์ อุโบสถ วิหาร หอพระมณเฑียร และหอพระไตรปิฎก

ต่อมาในปี พ.ศ. 2331-2352 ได้มีการสร้างมณฑปแทนหอมณเฑียรธรรมหลังเดิม และสร้างหอพระมณเฑียรธรรมหลังใหม่ ต่อมามีการสร้างหอระฆังระหว่างพระอุโบสถกับพระระเบียงด้านทิศใต้ และแขวนหอระฆังที่ขุดพบในคราวบูรณะวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร

นอกจากนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างหอพระนากขึ้นที่มุมพระระเบียงด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และหลังจากสถาปนาสิ่งของในพระอารามแล้ว จึงมีพิธีสมโภชพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร และได้ทำการสมโภชวัดพระศรีรัตนศาสดารามในปี พ.ศ. 2352

หลังจากนั้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 จนถึงรัชกาลที่ 5 วัดพระแก้วได้รับการบูรณะเรื่อยมาเพราะเป็นวัดสำคัญ จึงต้องมีการบูรณะครั้งใหญ่ทุกๆ 50 ปี โดยมีการซ่อมแซมและสร้างเพิ่มเติม เช่น จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ หอเล่าพระไตรปิฎก รูปยักษ์ 6 คู่ พระพุทธรูปฉลองพระองค์รัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2 พระคันธารราษฎร์ ปรางค์มณฑป พระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 1 รัชกาลที่ 2 รัชกาลที่ 3 รัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 จึงโปรดเกล้าฯให้สร้างพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาทขึ้นไปยังพระบรมมหาราชวังเพื่อประดิษฐานพระบรมรูปและอัญเชิญพระบรมรูป
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้ง 5 รัชกาลประดิษฐานที่พระพุทธปรางค์ปราสาทและพระราชทานนามใหม่ว่าปราสาทพระเทพบิดร เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2461 จึงมีพิธีถวายบังคมพระบรมรูปรัชกาลที่ 9 ทุกปีเป็นประเพณีปฏิบัติในเดือนเมษายน 6 นั่นเอง

จากนั้นในสมัยรัชกาลที่ 7-รัชกาลที่ 9 ได้มีการซ่อมแซม วัดพระแก้วได้รับการปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่และในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี ในสมัยรัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ซ่อมแซมจิตรกรรมฝาผนังโดยพยายามให้คงรูปเดิมไว้ให้มากที่สุดจนเสร็จสิ้นการบูรณะจิตรกรรม ทันงานสมโภชในปี พ.ศ. 2525

ประวัติ พระแก้วมรกต

พระแก้วมรกต หรือ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทยในปัจจุบัน ประดิษฐานในวัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือวัดพระแก้ว แกะสลักจาก หยกเนื้ออ่อน เนไฟรต์ สีเขียวมรกต เป็นศิลปะโบราณสมัยเชียงแสนถึงศิลปะเชียงแสน

สันนิษฐานว่าพบครั้งแรกคือพระแก้วมรกตที่ประดิษฐานอยู่ในพระเจดีย์วัดป่าญะ เมืองเชียงราย หรือ วัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย ในปัจจุบัน แห่งเชียงใหม่อัญเชิญพระแก้วมาประดิษฐานที่เชียงใหม่แต่ช้างประดับพระแก้วเดินทางไปลำปางแทน เชียงใหม่เห็นว่าลำปางอยู่ในอาณาจักรล้านนาด้วย จึงได้อัญเชิญพระแก้วมาไว้ ณ วัดพระแก้วดอนเต้า จนกระทั่ง พระเจ้าติโลกราชอัญเชิญพระแก้วมรกตไปไว้ที่เชียงใหม่

จนกระทั่งถึงสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาแห่งล้านช้างมาครองเชียงใหม่ได้เสด็จกลับหลวงพระบางได้อัญเชิญพระแก้วมรกตพร้อมกับพระพุทธสิหิงค์ แต่หลังจากที่เชียงใหม่ได้พระพุทธสิหิงค์คืนแล้วล้านช้างก็ย้ายเมืองหลวงจากหลวงพระบางไปเวียงจันทน์ และได้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาด้วย

เมื่อสมัยพระเจ้าตากสินสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีใหม่ ทรงอัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบางจากเวียงจันทน์ ประดิษฐานอยู่ที่วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกแห่งราชวงศ์จักรี จึงทรงอัญเชิญพระแก้วมรกตขึ้นในบุษบกในเรือพระที่นั่ง ข้ามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยามาอธิษฐาน ณ พระอุโบสถหลังใหม่ วัดพระแก้ว แล้วพระราชทานนามพระอารามว่า ” วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ” จวบจนทุกวันนี้ สำหรับ พระบางที่ได้คืนหลวงพระบางนั้น ลาว

นอกจากนี้ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 4 (ระหว่างเดือนมีนาคม) เดือน 8 (วันออกพรรษา) และเดือน 12 (หลังวันลอยกระทง 1 วัน) จะมีการเปลี่ยนผ้าไตรจีวรของ พระแก้วมรกตทรงเครื่อง 3 จีวร คือ จีวรฤดูร้อน. ฤดูฝนและฤดูหนาว

สถานที่สำคัญที่น่าสนใจในวัดพระแก้ว

พระอุโบสถวัดพระแก้วล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 มีสถาปัตยกรรมที่สวยงาม ประดับครุฑยุดนาคหล่อด้วยโลหะปิดทอง มีเสาเทียนหล่อด้วยทองแดงล้อมรอบทั้งสี่ด้าน ผนังด้านในโดยรอบเขียนด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังต่างๆ เช่น เรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ ภาพชาดก เป็นภาพเทพชุมนุมตามแบบที่สืบมาแต่สมัยอยุธยา ภาพขบวนพยุหยาตราทางชลมารค และอื่นๆ

พระศรีรัตนเจดีย์แบบลังกา สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2398 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามแบบพระมหาเจดีย์ในวัดพระศรีสรรเพชญ์เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่อัญเชิญมาจากลังกานั่นเองค่ะ

หอพระราชมนูสรณ์และหอพงษานุสรณ์ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปสมัยต่างๆ สมัยอยุธยา และรัตนโกสินทร์ มีลักษณะเป็นอาคารทรงไทย ภายในมีภาพเขียนของขัวอินครอง ซึ่งเป็นภาพพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ นอกจากนี้ ที่นี่ยังเป็นที่สรงน้ำพระพิพัฒน์สัจจา โดยตั้งเครื่องบูชาพระประธานในพระบรมมหาราชวัง

ปราสาทพระเทพบิดร เป็นอาคารทรงไทยจัตุรมุข ยกยอดปราสาทเป็นรูปปรางค์ ภายในประดิษฐานพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหาสัตริยาธิราชเจ้า ในรัชกาลที่ 5 (รัชกาลที่ 1-5) เดิมสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2398 ในสมัยรัชกาลที่ 4 และเปลี่ยนเป็นปราสาทพระเทพบิดรในรัชกาลที่ 6

บทความแนะนำ

หินสามวาฬ – จังหวัดบึงกาฬ

หลีเป๊ะ – จังหวัดสตูล